คือการจัดทำรายงานการตรวจสอบ และคาดการณ์ผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบจากการก่อตั้งโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลที่จะกระทบกับสิ่งแวดล้อม และใช้ในประกอบการตัดสินใจก่อตั้งโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานอนุญาต และส่งสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ปีละ 2 ครั้ง
ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้การดำเนิน โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและ ประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน
ทุกวันนี้อาคาร และคอนโดต่างๆ ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นแล้วการรักษามาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกันถือว่าเป็น หน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันของโครงการ และกิจการต่างๆ เพื่อให้คงระบบนิเวศน์ และธรรมชาติให้ดี ไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายไปยังธรรมชาติเพิ่มขึ้น
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กับกฎหมายที่มีชื่อว่า “The National Policy Act of 1969 หรือ NEPA เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ และธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ และแนวคิดนี้ก็ถูกกระจายไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เช่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
หน้าที่ตามกฎหมายระบุว่า เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่ได้ถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียหรือของเสียลงสู่แหล่งสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้ง (Slide)
สรุปง่ายๆ สำโครงการคอนโดฯ อาคารชุด และหมู่บ้านก็คือ
การจัดทำ EIA ประกอบด้วยการศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ
ครั้งที่ 1 ภายในเดือน กรกฎาคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบของเดือนมกราคม-มิถุนายน)
ครั้งที่ 2 ภายในเดือน มกราคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบของเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม)
สามารถดูตัวอย่างรายยงานได้ตามลิ้งค์นี้ https://eiathailand.onep.go.th/wp-content/uploads/2023/03/08-eia-guideline-building-land-allocation-community-service-2560.pdf
และต้องจัดทำเล่มรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมปีละ 2 ครั้ง
หากโครงการไม่ได้รับการอนุมัติให้ผ่าน EIA โดยปกติแล้ว จะต้องทำการส่งแจ้งยื่นเล่มไปใหม่ จนกว่าจะถูกพิจรณาให้ผ่าน ซึ่งหากกรณีที่โครงการไม่ผ่าน EIA จริงๆ จำเป็นต้องคืนเงินจอง และเงินดาวน์ให้ผู้ซื้อตามกฎหมาย และไม่สามารถก่อสร้างโครงการได้ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบโครงการที่ผ่าน EIA ได้ที่ลิ้งค์นี้ http://eia.onep.go.th/
ในกรณที่เจ้าของนั้นไม่เลือกที่จะยื่น EIA ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงหน่วยงานที่อนุมัติโครงการมีสิทธิที่จะลงโทษตามระเบียบและสภาพการณ์ในตอนนั้น ตั้งแต่การระงับการก่อสร้างชั่วคราวไปจนถึงกรณีร้ายแรงที่สุดอย่างการเพิกถอนการก่อสร้างได้
อีกทั้งยังผิดในฐานอาญามีโทษดังนี้
คือการจัดทำรายงานการตรวจสอบ และคาดการณ์ผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบจากการก่อตั้งโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลที่จะกระทบกับสิ่งแวดล้อม และใช้ในประกอบการตัดสินใจก่อตั้งโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานอนุญาต และส่งสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ปีละ 2 ครั้ง
The LivingOS เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมามากกว่า 32 ปี ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิทํารายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมธุรกิจ
ติดต่อฝ่ายขาย
02-481-5234
sale@thelivingos.com
กรุณาลงทะเบียน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
รวมบทความน่าสนใจสำหรับงานบริหารโครงการและนิติบุคคล